พระพุทธรูปสำคัญ หลวงพ่อบ้านแหลม ของ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

พระรูปหล่อหลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระประจำวันเกิดวันพุธเวลากลางวัน หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกันกับหลวงพ่อโสธร กับหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรเช่นเดียวกันหลวงพ่อบ้านแหลม สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น หลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีความสูง 167 เซนติเมตร

ประวัติหลวงพ่อบ้านแหลม

ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีได้มาตีอวนหาปลาบริเวณแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร ได้ลากอวนพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ซึ่งได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานที่ วัดศรีจำปา (ปัจจุบันชื่อ วัดบ้านแหลม ทำให้ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อบ้านแหลมตั้งแต่นั้นมา พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ปางสมาธิ ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ได้นำกลับไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี

ตำนานพระพุทธรูปห้าองค์อยู่บนแพลอยน้ำมาในแม่น้ำแม่กลองจากเมืองทางทิศเหนือของจังหวัดสมุทรสาคร คือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโต (บางพลี) หลวงพ่อวัดเขาตะเครา และหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งชาวบ้านริมฝั่งน้ำที่ศรัทธาได้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด เพื่อสักการบูชา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนมัสการ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชศรัทธา เสด็จนมัสการพร้อมทั้งได้พระราชทานผ้าทอมาจากดิ้นทองจำนวนสองผืนเพื่อประดับไว้ที่องค์พระ ในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันถวายกฐินพระราชทานในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ได้ถวายบาตรแก้วสีน้ำเงินให้กับองค์พระ เนื่องจากบาตรเดิมนั้นได้สูญหายไปในทะเลตั้งแต่คราวที่ชาวประมงได้พบหลวงพ่อในแม่น้ำแม่กลอง ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อบ้านแหลม

ภายในบริเวณวัดเพชรสมุทรยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์ จัดแสดงพระพุทธรูป และพระเครื่องสมัยต่าง ๆ โบราณวัตถุ เครื่องลายคราม และธรรมมาสน์บุษบกสมัยกรุงศรีอยุธยา

เทศกาลเกี่ยวกับหลวงพ่อบ้านแหลม

งานประจำปีปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม จัดให้มีขึ้นปีละ 3 ครั้ง คือ ในวันที่ 13 เดือนเมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ของชาวไทยและชาวรามัญ และครั้งที่ 2 งานสาร์ท เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) และช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยมีครั้งละ 7 วัน

ความเชื่อและวิธีการบูชา เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะปิดทองคำเปลวหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วจะช่วยเสริมอำนาจบารมีแก่ชีวิต บังเกิดแต่ความเป็นสิริมงคลสืบไป คำอธิษฐานของพรหลวงพ่อไว้จะได้สมความปรารถนาและกลับมาแก้บนหลวงพ่อด้วยการว่าจ้างคณะละครรำมารำแก้บนถวาย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการเสดงละคร

ใกล้เคียง

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร วัดเพชรพลี วัดเพลง (กลางสวน) วัดเพลงวิปัสสนา วัดเพลง (เขตบางพลัด) วัดเพลง (เขตภาษีเจริญ) วัดเพลง (อำเภอเมืองนนทบุรี) วัดเพิ่มประสิทธิผล วัดเพชรวราราม วัดเพลินเพชร